พิธีฌาปนกิจ
พิธีฌาปนกิจ หรือการเผาศพ เป็นพิธีกรรมหลังจากมีการตั้งศพบำเพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรมครบตามจำนวนวันที่ญาติต้องการแล้ว เช่น 3 วัน 5 วัน หรือ 7 วัน วันรุ่งขึ้นหลังจากสวดพระอภิธรรมคืนสุดท้าย จะเป็นวันฌาปนกิจ สำหรับประวัติและลักษณะของการเผาศพในประเทศไทย อาจแบ่งออกเป็น2กรณี ก็คือการเผาแบบเปิด และการเผาในที่ปิด โดยในอดีตคนไทยส่วนใหญ่จะนิยมเผาศพในเมรุเปิด โดยจะมีลักษณะก็คือ ใช้ฟืนหรือท่อนไม้ นำมาทำเป็นฐานเพื่อวางร่างของผู้เสียชีวิต โดยการก่อเป็นแท่นแล้ววางศพด้านบนสุด หรือจะทำการก่อแท่นสำหรับวางฟืนหรือท่อนไม้ก่อน จากนั้นจึงวางศพทับอีกทีก็ได้เช่นเดียวกัน โดยลักษณะของการเผาศพแบบนี้ จะนิยมทำที่กลางแจ้ง เพื่อไม่ให้ไฟลามไปไหม้บ้านเรือน ตลอดจนสามารถให้แขกหรือญาติมาร่วมส่งวิญญาณไปพร้อมกันได้ และเมื่อทำการจุดไฟแล้วร่างของผู้ตายก็จะกลายเป็นผงรวมไปกับท่อนฟืนเหล่านั้น ขั้นตอนหลังจากนี้ก็จะมีการเก็บเถ้ากระดูก เพื่อนำไปเก็บไปที่โกศหรือนำไปลอยอังคารต่อไป ขึ้นอยู่กับความเชื่อของแต่ละบุคคล
ซึ่งหลังจากที่มีการพัฒนาในหลายด้านมากขึ้น การเผาศพแบบเปิดในประเทศไทย ก็เริ่มจะได้รับความนิยมน้อยลง จนพบเห็นได้น้อยมาก หรืออาจจะไม่มีอยู่แล้วก็เป็นได้ ซึ่งคนในสมัยนี้ได้เปลี่ยนมาเผาศพ โดยใช้เมรุแบบปิด(เมรุทั่วไปที่ทางวัดมีให้บริการ)แทน โดยรูปแบบของเมรุก็อาจจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่าวัดนั้นมีการออกแบบตัวเมรุมาอย่างไรนั่นเอง
นอกจากนั้นในปัจจุบันได้มีการตระหนักในเรื่องของการเผาศพมากขึ้น เพราะเหล่าควันที่พวยพุ่งขึ้นไปทางปล่องไฟนั้น ก็คือหนึ่งในสาเหตุของการสร้างมลพิษทางอากาศ ดังนั้นจึงเกิดการตื่นตัวของวัดจำนวนไม่น้อย ซึ่งต้องการเป็นส่วนหนึ่ง เพื่อสร้างเตาเผาแบบไร้มลพิษขึ้นมาด้วยนั่นเอง
ลำดับพิธีการฌาปนกิจศพ มีดังนี้
- การเคลื่อนศพสู้เมรุ
ดำเนินการเคลื่อนศพไปที่เมรุ โดยเวียนซ้าย (อุตราวรรต หรือ อุตราวัฏ) รอบเมรุจำนวน 3 รอบ จากนั้นจึงนำศพขึ้นตั้งบนเมรุ โดยนำหีบศพวางไว้บนเชิงตะกอนเพื่อรอการประกอบพิธีฌาปนกิจศพต่อไป
- การโปรยทาน
เมื่อนำศพขึ้นสู่เมรุเรียบร้อยแล้ว เจ้าภาพจะทำการโปรยทาน โดยมีความเชื่อว่าเพื่อเป็นการบอกกล่าวเจ้าที่เจ้าทางขอให้ดวงวิญญาณของผู้ตายไปสู้สุขติ และเป็นการซื้อทางเพื่อให้ดวงวิญญาณผู้ตาย
- พิธีทอดผ้าบังสุกุล
พิธีกรจะเชิญแขกผู้มีเกียติชั้นผู้ใหญ่ที่เจ้าภาพได้เรียนเชิญไว้แล้วขึ้นทอดผ้าบังสุกุล (ผ้าไตร) โดยมีญาติหรือลูกหลานเป็นผู้ถือพานผ้าไตรเดินตามผู้ที่ขึ้นทอดผ้าไปบนเมรุ จากนั้น พิธีกรจะนิมนต์พระสงฆ์ขึ้นมาชักผ้าบังสุกุล
- กล่าวประวัติและแสดงความอาลัย
เป็นขั้นตอนการกล่าวประวัติผู้เสียชีวิต และคำไว้อาลัยแก่ผู้เสียชีวิต จากนั้นจึงกล่าวเชิญแขกที่มางานทุกท่านยืนสงบนิ่งเพื่อไว้อาลัยให้แก่ผู้เสียชีวิต
- วางดอกไม้จันทน์
พิธีกรจะเชิญพระสงฆ์ และแขกทั้งหมดขึ้นวางดอกไม้จันทน์ ตามลำดับ โดยส่วนใหญ่จะขึ้นด้านข้างทั้งสองข้างของเมรุ และลงด้านหน้าทางเดียว
- พิธีฌาปนกิจ
นำโลงศพเข้าไปยังบริเวณเตาเผา โดยในบางพื้นที่จะไม่นิยมใช้ไฟที่มีความร้อนสูงมากในการเผาศพ เพื่อยังคงรักษาสภาพอัฐิให้ไม่เสียหายจนเกินไป ต่างจากการเผาศพในต่างประเทศที่มักเผาด้วยไฟแรง ซึ่งเชื้อเพลิงที่ใช้ในกระบวนการเผาศพก็มีอยู่หลายแบบ ขึ้นอยู่กับความสะดวกของแต่ละพื้นที่ ยกตัวอย่างเช่น ถ่านสำเร็จรูป ฟืน ถ่านผสมน้ำมัน น้ำมัน แก๊ส เป็นต้น
หลังเสร็จสิ้นพิธีฌาปนกิจแล้ว เจ้าภาพ ลูกหลาน หรือเครือญาติของผู้ล่วงลับสามารถเก็บอัฐิได้หลังจากเผาศพในวันนั้นเลย หรือจะทำในเช้าวันรุ่งขึ้นก็ได้ค่ะ โดยเจ้าภาพจะนิมนต์พระสงฆ์มาพิจารณา “บังสุกุลอัฐิ” หรือที่เรียกว่า “แปรรูป” หรือ “แปรธาตุ” ค่ะ เมื่อทำพิธีเสร็จเรียบร้อยแล้ว เจ้าภาพจะเก็บอัฐิใส่โกศ โดยเลือกเก็บอัฐิจากร่างกายทั้ง 6 แห่ง คือ กะโหลกศีรษะ 1 ชิ้น, แขนทั้งสอง, ขาทั้งสอง และซี่โครงหน้าอก 1 ชิ้น ส่วนอัฐิที่เหลือ รวมทั้งขี้เถ้าจากการเผาศพจะนำไปทำ พิธีลอยอังคาร
บทความที่เกี่ยวข้อง
สำหรับท่านใดที่ต้องการสอบถามเกี่ยวกับหีบศพ โลงศพ หรือ การจัดงานศพ และอุปกรณ์ในการทำพิธีแบบครบวงจร มีทุกศาสนาทุกรูปแบบ สามารถปรึกษาสุริยาหีบศพได้เลยนะคะ หรือสามารถดูในเว็บไซต์ Suriya Funeral เพื่อขอดูโปรโมชั่นในการจัดงานศพ หีบศพ โลงศพ ดอกไม้หน้าหีบศพ หรือรถรับส่งได้ เมื่อถึงเวลาในการเคลื่อนย้ายจะได้ไม่เกิดความผิดพลาด โดยทางเราพร้อมให้บริการตลอด 24 ชม. ด้วยประสบการณ์ด้านหีบศพที่ยาวนาน การันตีคุณภาพหีบศพ และบริการของทางเรา มีหีบศพให้เลือกมากกว่า 100 แบบ อาทิ หีบศพเทพพนม หีบศพไม้สัก หีบศพจำปา หีบศพคริสต์ เป็นต้น หากเกิดข้อสงสัยเรื่อง หีบศพ โลงศพ ดอกไม้หน้าหีบศพ สามารถปรึกษาได้ที่ โทร 02-950-0989 ได้ตลอด 24 ชม. เรายินดีให้บริการค่ะ
สามารถติดต่อได้ที่
Website : www.suriyafuneral.com
Line : @Suriyagroup
Facebook : สุริยาหีบศพ , Suriya Funeral
Tel : 02-950-0989 ได้ตลอด 24 ชม.