logo-funeral สุริยาหีบศพ หีบศพ โลงศพ
สุริยาหีบศพ หีบศพโลงศพ

ขั้นตอนการประกอบพิธีกรรมในงานศพ (ตอนที่ 2)

ขั้นตอนการประกอบพิธีกรรมในงานศพ (ตอนที่ 2)

สุริยาหีบศพ หีบศพโลงศพ

ขั้นตอนการประกอบพิธีกรรมในงานศพ (ตอนที่ 2)  ต่อเนื่องจากตอนที่แล้ว เราได้นำเสนอขั้นตอนในการประกอบพิธีกรรมในงานศพไปบางส่วน ซึ่งนั้นก็ทำให้เราได้เห็นกันแล้วว่าขั้นตอนบางส่วนก็ถูกกระทำด้วยความเชื่อ และบางขั้นตอนนั้นก็ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรม ประเพณี การใช้ชีวิตตามท้องถิ่นนั้นๆ ด้วย วันนี้แอดมินจะมาเสนอในตอนที่ 2 ของขั้นตอนในการประกอบพิธีกรรมกันค่ะ

3.วันตั้งบำเพ็ญกุศลศพ

ประเพณีของชาวไทยส่วนมากนิยมตั้งศพ หรือหีบศพไว้ที่บ้าน ระยะเวลาของการนำศพไว้ที่บ้านจะขึ้นอยู่กับอายุของศพ ยิ่งศพมีอายุมากก็จะอยู่บ้านนาน เช่น 5 คืน หรือ 7 คืน เป็นต้น

           3.1  การตั้งบำเพ็ญกุศลศพ

การตั้งบำเพ็ญกุศลมีเป้าหมายเพื่อที่จะได้ทำบุญให้แก่ผู้ตาย ระยะเวลาตั้งบำเพ็ญกุศลจะขึ้นอยู่กับกำลังของผู้จัด จะจัดสวด 3 วัน 5 วัน หรือ 7 วัน เป็นต้น  โดยทั่วไปพระสงฆ์สวดพระอภิธรรม จำนวน 4 จบ หรือว่าตามความต้องการของเจ้าภาพ เมื่อสวดเสร็จก็จะนำเครื่องไทยธรรมถวายแก่พระสงฆ์

           3.2  การสวดพระอภิธรรม

เป็นการสวดเพื่อทำบุญให้แก่ผู้ตาย หลังจากที่พระสวดพระอภิธรรมเสร็จแล้ว ญาติและแขกคนอื่นๆ จะมาอยู่รวมกันที่บ้านของเจ้าภาพ เพื่อที่จะอยู่เป็นเพื่อนศพไม่ให้ศพเหงา ปัจจุบันจะมีการละเล่นต่างๆ แทนการเล่านิทานชาดกในอดีตระหว่างคืนที่บำเพ็ญกุศล โดยระหว่างที่พระกำลังสวด ญาติพี่น้องจะทำการเคาะหีบศพเพื่อนำทางให้ผู้เสียชีวิตมาฟังพระสวดด้วย

 

4.วันฌาปนกิจศพ (วันเผา)

วันเผาศพ เป็นวันสำคัญที่สุด เนื่องจากมีขั้นตอนมากมายและเป็นวันสุดท้ายของศพก่อนที่จะถูกเผา โบราณเชื่อกันว่าห้ามเผาวันพระ วันอังคาร โดยการเผาศพนั้นเราจะทำการเผาทั้งหีบศพ ซึ่งมีรายละเอียดต่างๆ ดังนี้

           4.1  การยกศพหรือหีบศพออกจากบ้าน

การยกศพหรือหีบศพออกจากบ้านของเจ้าภาพ มีเงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติคือ เจ้าภาพต้องเรียนเชิญพระสงฆ์มาสวดศพให้ที่บ้านของผู้ตาย และให้ลูกหลานบวชเพื่อทำพิธีจูงศพ โดยที่ชายให้บวชเป็นสามเณรถือศีล 10 ข้อ หญิงให้บวชเป็นชีพราหมณ์ถือศีล 8 ข้อ เพื่อเป็นการทำบุญให้ศพ โดยก่อนที่จะยกศพออกจากบ้านต้องจุดประทัดเพื่อเป็นการส่งสัญญาณให้ชาวบ้านมาร่วมส่งศพ

           4.2  การส่งสการศพ หรือพิธีการปลงศพแบบล้านนา

การส่งสการศพคนไทยเชื่อกันว่าเป็นการสักการะศพนั้นเอง เป็นการนำเครื่องสักการะ ได้แก่ ดอกไม้ ธูปเทียน สักการะศพ คนนิยมไปส่งศพผู้ตายที่ป่าช้าเป็นส่วนมาก ถือเป็นการทำความเคารพศพ

           4.3  การหามศพหรือหามหีบศพ

ในอดีตจะใช้คานไม้ไผ่ 2 ลำ ให้ผู้ชายยกข้างละ 3-4 คน ก่อนหามให้นำธูปเทียน ดอกไม้ทัดหูแล้วยกขึ้นบ่า ห้ามพักระหว่างทาง แต่ปัจจุบันจะใช้วิธีการยกศพหรือหีบศพใส่บนรถและตกแต่งให้สวยงามแทน

           4.4  การจูงศพ

การจูงศพไปยังป่าช้านั้น จะจูงศพโดยใช้ด้ายโยงจำนวนหลายทบเพื่อเป็นเชือกจูง ในขบวนจูงศพจะนำหน้าหีบศพด้วยพระสงฆ์ ลูกหลานที่บวช ผู้เคารพนับถือและญาติตามลำดับ ระหว่างการเดินจะโปรยข้าวตอกตลอดทาง

           4.5  การเวียนสามรอบ

เมื่อหามศพไปถึงป่าช้าแล้ว ก็ให้หามหีบศพเวียนซ้าย 3 รอบ ก่อนจะยกศพจากหีบศพขึ้น จะกระแทกหีบศพแรงๆ 3 ครั้ง แล้วท่องว่า “ยังกิญจิ สมุทยะ ธัมมัง สัพพันตัง นิโรธธัมมัง” หมายถึงว่าทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เป็นสัญญาณเตือนผู้ตายว่าที่นี่เป็นบ้านหลังใหม่

           4.6  การโยนผ้าข้ามหีบศพ

โดยจะรดน้ำศพ ด้วยน้ำมะพร้าวตามความเชื่อของชาวไทยหลังจากทำพิธีรดน้ำศพเสร็จแล้ว ญาติของผู้ตายจะโยนผ้าที่คลุมศพข้ามหีบศพ กลับไปกลับมา 3 ครั้ง พร้อมทั้งกล่าวคาถาว่า “ปุตตา นัตถิ ทะนะมัตติ ฌาปิตัมปิ นะเต สะรีรัง กุโต ปุตตา กุโต ธะนัง” เชื่อว่าเป็นการทำให้ผีหลงทาง

           4.7  การทอดผ้าบังสุกุล

พิธีทอดผ้าบังสุกุลจะเรียงลำดับจากผู้มีอายุน้อยไปหาผู้มีอายุมาก ประธานในพิธีจะเป็นผู้ทอดผ้าเป็นลำดับสุดท้ายเพื่อประกอบพิธีพระราชทานเพลิงศพต่อไป

           4.8  การฌาปนกิจศพ

เป็นขั้นตอนสุดท้ายหลังจากทอดผ้าบังสุกุล โดยประทานในพิธีจะวางดอกไม้จันทน์ ทุกคนเริ่มทยอยกันวางดอกไม้จันทน์บนเมรุ ชาวอีสานในอดีตเชื่อกันว่าเพื่อไม่ให้เป็นบาปเผาร่างกายพ่อแม่หรือญาติ โดยจะกล่าวคาถาว่า “อะยัมปิโข เม กาโย เอวังภาวี เอวังธัมโม เอวังอะนะตีโต”

           4.9  ผู้ที่ไปร่วมงานต้องเข้าวัดล้างมือ

ผู้ที่ไปร่วมพิธีฌาปนกิจศพต้องกลับมาล้างหน้า อาบน้ำ ล้างเท้า เพราะเชื่อกันว่าจะช่วยล้างสิ่งอัปมงคลที่อาจตามติดตัวมาให้สะอาด

 

5.วันหลังฌาปนากิจศพ (วันเก็บอัฐิ)

ส่วนใหญ่จะเก็บอัฐิหลังจากวันเผา 1 วัน โดยญาติของผู้ตายจะนิมนต์พระสงฆ์ไปยังที่เผา นำอาหารคาวหวานไปเลี้ยงผีคนตายบริเวณที่เผาศพ หลังจากนั้นจะเกลี่ยเศษอัฐิให้เป็นรูปคนนอนหงายหันหัวไปทางทิศตะวันตก เมื่อพระสงฆ์บังสกุลตายเสร็จแล้ว จะเกลี่ยเศษอัฐิใหม่ โดยจะหันหัวไปทางทิศตะวันออก

           5.1  เก็บกระดูก

หลังจากเสร็จพิธีบังสุกุลแล้ว จะเก็บเศษอัฐิใส่ลงขวดโหล แล้วเก็บไว้ที่โบสถ์หรือศาลาวัด ลูกหลานจะนำขวดที่ใส่อัฐิมาทำบุญแจกข้าว อุทิศส่วนบุญกุศล ใหม่อีกครั้งหนึ่ง

           5.2  ลอยอังคาร

การลอยอังคารเป็นการเก็บเศษส่วนเถ้าถ่านบริเวณที่เผาศพนำไปห่อผ้าขาวแล้วไปลอยที่แม่น้ำ

           5.3  ประเพณีทำบุญแจกข้าว

เป็นการทำบุญให้แก่ผู้ตาย จำนวน 2 วัน วันแรกทำบุญเลี้ยงแขกและถวายเพลแก่พระสงฆ์ วันที่สอง นำอาหารไปถวายพระที่วัดและทำพิธีบรรจุอัฐิเป็นอันเสร็จพิธี

จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นเป็นขั้นตอนในการประกอบพิธีกรรมในงานศพ ที่ทางแอดมินได้นำมาเสนอจนครบทั้ง 2 ตอน และแอดมินจะนำข้อมูลที่น่าสนใจ ข่าวสาร ข้อมูลเกี่ยวกับหีบศพมาฝากกันบ่อยๆ ค่ะ

หากท่านใดเกิดข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม หรือต้องการใช้บริการเราเกี่ยวกับเรื่องหลังความตาย อาทิ หีบศพ โลงศพ ดอกไม้หน้าโลงศพ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ 02-950-0989 ตลอด 24 ชม.

ให้เราดูแลคุณ จนถึงวินาทีสุดท้าย