logo-funeral สุริยาหีบศพ หีบศพ โลงศพ
8 เรื่องที่มาและความเชื่อของโลงศพ (3)

8 เรื่องที่มาและความเชื่อของโลงศพ

8 เรื่องที่มาและความเชื่อของโลงศพ

8 เรื่องที่มาและความเชื่อของโลงศพ โลงศพหรือหีบศพที่บรรจุร่างของมนุษย์หลังสิ้นลมหายใจ เปรียบเสมือนบ้านหลังสุดท้ายที่คนซื้อไม่ได้ใช้ คนใช้ไม่ได้ซื้อ ซึ่งมักจะทำด้วยไม้ในรูปทรงกล่องสี่เหลี่ยม มีความยาวมากกว่าความกว้าง ตามขนาดร่างกายของมนุษย์ ลักษณะของโลงศพมีความแตกต่างกันไปตามธรรมเนียม ความเชื่อในแต่ละศาสนา สุริยาหีบศพมีความเชื่อของโลงศพมาให้ทุกท่านได้ทราบกัน มีอะไรบ้าง ตามไปดูกันได้เลยค่ะ

 

8 เรื่องที่มาและความเชื่อของโลงศพ

 

1.โลงศพ เกิดขึ้นจากความกลัวผีตั้งแต่ยุคโบราณเพื่อป้องกันไม่ให้ผีหรือวิญญาณกลับมาหาคนเป็นได้อีก จึงเป็นที่มาของโลงศพตามความเชื่อเรื่องผีที่มีมานานนับพันปีก่อนคริสตกาล โดยจุดเริ่มต้นของโลงศพที่ทำให้เข้าใจได้ว่า เกิดจากความเชื่อเรื่องความหวาดกลัวผีหรือวิญญาณนั้นมาจากชาวสุเมเรียนโบราณ ซึ่งจะมีการฝังศพในตะกร้าที่สานจากกิ่งไม้เล็ก ๆ โดยจะมัดร่างกายและศีรษะติดกับเท้าของคนที่เสียชีวิต เพราะเชื่อว่าจะป้องกันไม่ให้กลับมาหลอกหลอนใครได้ และในเวลาต่อมาได้มีการคิดปรับเปลี่ยนรูปแบบของโลงศพขึ้นใหม่ให้มีความมิดชิดมากขึ้น ก่อนจะนำไปฝังและวางทับด้วยหินก้อนใหญ่ ซึ่งนอกจากจะใช้หินเป็นสัญลักษณ์ของหลุมศพแล้ว และยังเป็นการปิดปากหลุมเพื่อป้องกันวิญญาณอีกด้วย

 

2.คนไทยยุคก่อนใช้วิธีห่อศพด้วยเสื่อและนำไปพาดไว้ตามต้นไม้ใหญ่ในป่าช้า เป็นการทำศพค้างรอให้ร่างเน่าเปื่อยไปเอง ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่ค่อนข้างคล้ายกันในประเทศแถบเอเชียบางประเทศ แต่ในเวลาต่อมายุคสมัยเปลี่ยนไป มีความเจริญมากขึ้น ประเทศไทยจึงเริ่มนำโลงศพมาใช้เก็บร่างผู้เสียชีวิต ลดความไม่น่าดู ลดความเสี่ยงของการแพร่กระจายโรคระบาดจากศพได้ โดยเชื่อว่าเป็นอิทธิพลที่มาจากวัฒนธรรมของศาสนาคริสต์

 

3.การเคาะโลงศพเรียกกินข้าว เมื่อร่างไร้วิญญาณถูกบรรจุอยู่ในโลงศพไปแล้ว แต่ยังมีความผูกพันกับคนที่ยังอยู่ ทำให้เกิดความเชื่อว่า เพื่อไม่ให้คนที่จากไปต้องหิว จึงต้องเคาะโลงศพเรียกผู้ที่จากไปให้มากินข้าว หรืออาหารที่เราเตรียมไว้ทุกคืนที่ทำพิธีทางศาสนา เป็นความเชื่อที่มีและทำกันมานาน ดังนั้น ในช่วงที่มีบำเพ็ญกุศล ครอบครัวจึงจะจัดเตรียมอาหารที่ผู้เสียชีวิตชอบ มีขนม น้ำดื่ม ไปวางข้างโลงศพพร้อมกับจุดธูปตามจำนวนอาหารและบวกเพิ่มอีก 1 ดอก จากนั้นก็บอกกล่าวกับผู้เสียชีวิต นำธูป 1 ดอก ไปปักที่กระถางธูป ส่วนธูปที่เหลือไปปักที่อาหารแต่ละชนิด และจึงเคาะโลงศพเพื่อเรียกให้มาทานอาหาร ในความเป็นจริงแล้วไม่สามารถตอบได้ว่าจะมีใครลุกขึ้นมาทานสำรับอาหารที่เตรียมไว้หรือไม่ แต่เป็นการแสดงออกถึงความรัก ความผูกพันครั้งสุดท้ายที่ครอบครัวพอจะทำได้

 

4.ห้ามแมวดำกระโดดข้ามโลงศพ เรื่องนี้เป็นความเชื่อมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยต้องระวังไม่ให้แมวดำกระโดดข้ามโลงศพเด็ดขาด เพราะจะทำให้ศพฟื้นขึ้นมากลายเป็นผีที่ดุร้าย และอาจจะไปทำร้ายคนอื่นก็เป็นได้ ความเชื่ออีกอย่างหนึ่ง คือ ถ้าแมวดำกระโดดข้ามศพแล้ว จะทำให้วิญญาณไม่ได้ไปเกิด เป็นวิญญาณเร่ร่อน คอยหลอกหลอนผู้คน แต่เหตุผลที่แท้จริงของเรื่องนี้มีอยู่ว่า 

 

5.ห้ามให้น้ำตาถูกโลงศพ มีความเชื่อว่าน้ำตาจะเป็นสื่อระหว่างคนกับวิญญาณ โดยเมื่อเสียใจมาก ๆ แล้วร้องไห้ออกมา จะต้องระวังไม่ให้น้ำตาหยดลงไปถูกศพ หรือโลงศพโดยเด็ดขาด ก็จะทำให้ผู้ที่จากไปรับรู้และเป็นห่วง จนไม่ยอมไปผุดไปเกิด แต่ในความจริงที่มีความเชื่อหรือข้อห้ามแบบนั้น เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ติดเชื้อโรคจากศพ เช่นในกรณีที่มีการเก็บศพไว้หลายวัน ระยะที่น้ำตาสามารถหยดลงไปโดนศพได้ จะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อเราเข้าไปใกล้ศพมาก ๆ ซึ่งนั่นอาจมีความเสี่ยงติดเชื้อโรคจากศพได้

 

6.โลงศพทุกใบมีเจ้าของอยู่แล้ว จะรู้ได้อย่างไรว่าเราจะเป็นเจ้าของโลงศพใบไหน หากไม่ได้เลือกเองในขณะที่ยังมีลมหายใจ ความเชื่อที่ว่าโลงศพทุกใบมีเจ้าของ เป็นความเชื่อของเจ้าของร้านขายโลงศพ ว่ากันว่าเมื่อไหร่ที่มีผีเสื้อกลางคืนบินมาเกาะโลงศพ หรือเมื่อไหร่ที่ได้ยินเสียงโลงศพดังลั่น ในวันต่อมาก็จะมีคนมาซื้อโลงศพใบนั้นออกไป

 

7.นอนโลงศพเพื่อสะเดาะเคราะห์ ยังมีให้เห็นอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ แม้จะมีข้อถกเถียงว่าไม่น่าจะช่วยอะไรได้  แต่เรื่องนี้ก็เป็นความเชื่อและความสบายใจส่วนบุคคล โดยพิธีสะเดาะเคราะห์การเข้าไปนอนในโลงศพ จะใช้เวลาครั้งละประมาณ 4 นาที มีพระสงฆ์สวดบังสุกุลเป็น บังสุกุลตายให้ พร้อมกับให้ศีลให้พรและขจัดปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย แต่เรื่องการนอนโลงศพเพื่อสะเดาะเคราะห์จะมองว่าเป็นกุศโลบายหนึ่งก็ได้ เพื่อให้ทุกคนได้เข้าใจถึงสัจธรรมขณะที่ลงไปนอนในโลงศพว่าไม่มีใครหนีพ้นความตาย ซึ่งเป็นเรื่องของธรรมชาติไปได้

 

8.ทำบุญโลงศพช่วยเสริมดวงชะตา เชื่อกันว่าการทำบุญด้วยการซื้อโลงศพบริจาคให้กับศพไร้ญาติ ซึ่งเชื่อว่าเป็นสถานที่เชื่อมต่อกับสิ่งที่มองไม่เห็น เมื่อทำบุญโลงศพแล้วจะสามารถเสริมชะตาชีวิตให้กับตัวเอง ผ่อนเคราะห์หนักให้เป็นเบา และเป็นการต่ออายุ การได้บริจาคโลงศพให้กับผู้ที่ยากไร้ ไม่มีเงิน ให้มีบ้านหลังสุดท้าย เชื่อว่าเป็นการทำบุญที่ได้อานิสงส์แรงยิ่งนัก เพราะทำด้วยจิตที่เมตตา แรงบุญนี้จะหนุนนำชะตาชีวิตให้ดียิ่งขึ้นได้ ตามความเชื่อของบุคคล

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

 

หลังจากได้อ่านบทความนี้กันแล้ว ทุกท่านน่าจะได้ทราบกันแล้วว่าที่มาและความเชื่อของโลงศพมีอะไรบ้าง เรื่องราวของโลงศพมีความเป็นมาอย่างยาวนานพอ ๆ กับความเชื่อต่าง ๆ เกี่ยวกับโลงศพที่มีกันมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน โดยในแต่ละพื้นที่ก็จะมีความแตกต่างกันไป ดูได้จากพิธีกรรม รวมไปถึงรูปแบบ ลวดลายบนโลงศพที่ยังสะท้อนให้เห็นถึงแนวคิด เรื่องการจากไปในแต่ละวัฒนธรรมได้อีกด้วย และสำหรับท่านใดที่ต้องการสอบถามเกี่ยวกับหีบศพ โลงศพ หรือ การจัดงานศพ และอุปกรณ์ในการทำพิธีแบบครบวงจร มีทุกศาสนาทุกรูปแบบ สามารถปรึกษาสุริยาหีบศพได้เลยนะคะ เราเป็นผู้ให้บริการหลังความตายแบบครบวงจร ให้เราเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลงานศพของคนที่คุณรักไปจนถึงวินาทีสุดท้ายเลยนะคะ สามารถปรึกษาหรือสอบถามเพิ่มเติมได้ตลอด 24 ชั่วโมง เรายินดีให้บริการค่ะ

 

สามารถติดต่อได้ที่

Website: www.suriyafuneral.com

Line : @Suriyagroup

Tel: 02-950-0989 ได้ตลอด 24 ชม.

 

หีบศพ โลงศพ

ให้เราดูแลคุณ จนถึงวินาทีสุดท้าย