การจัดงานศพแบบไทยต้องทำอะไรบ้าง
เชื่อว่าการจัดงานศพ เป็นสิ่งที่ไม่คิดว่าวันนึงจะมาเกิดขึ้นกับคนใกล้ตัวเรา หรือเกิดขึ้นกับเรา แต่เมื่อวันนั้นมาถึงสิ่งที่เป็นการอำลากันครั้งสุดท้ายได้ดีที่สุด ที่จะทำให้เราจดจำว่าครั้งนึงครั้งสุดท้าย เราจะมอบงที่ดีที่สุดให้กับการจากไปของคนที่เรารัก คือ การจัดงานศพให้กับผู้ที่จากไป
วันนี้จะมาพูดถึงการจัดงานศพแบบไทยว่าต้องทำอะไรบ้าง
- แจ้งการตาย
หลังมีผู้เสียชีวิต สิ่งแรกที่ควรทำคือการขอใบมรณบัตร สำหรับผู้ที่เสียชีวิตในโรงพยาบาล เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลจะเป็นผู้ออกใบรับรองแพทย์ เพื่อแสดงเหตุการณ์ตาย โดยเราสามารถนำใบนี้พร้อมบัตรประชาชนของผู้เสียชีวิตไปมอบให้สำนักทะเบียนท้องถิ่น หรือที่ทำการเขตให้ทำเรื่องได้ทันที แต่ก็มีบางโรงพยาบาลที่ออกใบมรณบัตรให้ได้เช่นกัน ส่วนสาเหตุการตายที่เกิดขึ้นที่บ้าน อุบัติเหตุ หรือถูกฆาตกรรม ญาติผู้เสียชีวิตจะต้องแจ้งการตายต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทำตามขั้นตอนทางกฎหมาย ก่อนจะนำหลักฐานต่าง ๆ ไปขอใบมรณบัตรที่ทำการเขตต่อไป
- การติดต่อวัดที่จัดงานและการนำศพไปวัด
การติดต่อวัดที่ต้องการนำศพไปทำพิธี ซึ่งขึ้นอยู่กับผู้จัดงานว่าต้องการจัดที่วัดไหน เพราะแต่ละวัดก็จะมีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันไป แต่เมื่อติดต่อวัดที่จะนำศพไปตั้งบำเพ็ญกุศลเรียบร้อยแล้ว การนำศพไปวัดอาจติดต่อขอให้ทางวัดจัดรถไปรับศพ หรือแจ้งความประสงค์กับเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล ขอให้จัดรถส่งศพให้ และนิมนต์พระสงฆ์ 1 รูป มาชักศพที่จะเคลื่อนไปสู่วัดที่นำศพไปตั้งบำเพ็ญกุศล
- อาบน้ำศพและแต่งตัว
ขั้นตอนการอาบน้ำศพและ แต่งตัว ทำได้เฉพาะคนในครอบครัวเท่านั้น และยังสามารถแต่งหน้าศพได้อีกด้วยเพื่อให้การจากไปครั้งสุดท้ายของผู้ที่ล่วงรับก็ยังคงสวย หล่อ โดยหลังอาบน้ำศพเสร็จจะแต่งตัวศพตามฐานะของผู้ที่จากไป เช่น หากเป็นข้าราชการจะใส่ชุดเครื่องแบบ หากเป็นบุคคลทั่วไปจะใส่ชุดที่สุภาพ
- ทำพิธีกรรมต่าง ๆ ให้กับผู้ที่จากไป
ซึ่งพิธีกรรมของไทยเราจะ แบ่งออกเป็น 3 พิธี ได้แก่ พิธีรดน้ำศพ พิธีสวดอภิธรรม และพิธีฌาปนกิจ
– พิธีรดน้ำศพ
ส่วนใหญ่ในพิธีนี้จะเป็นคนในครอบครัว คนสนิท คนรู้จักหรือผู้ที่เคารพนับถือของผู้ที่จากไป โดยเจ้าภาพจะต้องจัดเตรียมน้ำอบ น้ำหอม ขันใส่น้ำผสมน้ำอบหรือน้ำหอม ขันขนาดเล็กสำหรับตักน้ำยื่นให้แขก และขันขนาดใหญ่เพื่อรองรับน้ำที่รดมือศพ
– พิธีสวดอภิธรรม
ซึ่งพิธีนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “สวดหน้าศพ” นิยมจัดขึ้นตั้งแต่วันตั้งศพเป็นวันแรก และสวดประจำทุกคืน ส่วนมากจะนิยมสวด 1 คืน, 3 คืน, 5 คืน หรือ 7 คืน แต่ในบางกรณีอาจมีการสวดพระอภิธรรมศพจนครบ 100 วัน หรือจนกว่าจะถึงวันฌาปนกิจศพนั่นเอง ก็จะแล้วแต่เจ้าภาพจัดงาน
เจ้าภาพจะต้องเตรียมเครื่องไทยธรรมพร้อมผ้าสบง เพื่อถวายแด่พระสงฆ์ และผ้าบังสุกุลที่จะทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับ ซึ่งในปัจจุบันทางวัดหรือฌาปนสถานมีบริการจัดหาให้ นอกจากนั้นยังมีปัจจัยถวายพระ 4 รูป ตามแต่ศรัทธา และอาหารว่างเลี้ยงแขกผู้ร่วมงานที่มาฟังสวดทุกคืน
– พิธีฌาปนกิจ
นับเป็นพิธีกล่าวอำลาในครั้งสุดท้ายกับผู้ที่จากไป ในตอนเช้าของพิธีมักจะให้ญาติหรือลูกหลานช่วยกันหามโลงศพ เพื่อไว้อาลัยแก่ผู้ตาย โดยการเวียนศพต้องเวียนซ้ายต่างกับการเวียนเทียนหรือแห่นาคซึ่งเป็นงานมงคลจะทำการเวียนขวาเรียกว่า ทักษิณาวรรต การเวียนศพ 3 รอบเป็นการเวียนเพื่อไว้อาลัยแก่ผู้ตาย และเป็นปริศนาธรรมเกี่ยวกับพระไตรลักษณ์ คืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือเกี่ยวกับการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ในสามภพ คือ ในโลก นรก และสวรรค์
ก่อนจะทำพิธีฌาปนกิจจะมีการกล่าวชีวประวัติของผู้จากไป เพื่อระลึกถึงคุณความดีและให้ผู้มีชีวิตอยู่ จากนั้นเจ้าภาพในงานจึงจะรับเชิญให้เริ่มพิธี โดยให้ท่านนำธูปเทียนสำหรับขอขมาศพและดอกไม้จันทน์ค่อย ๆ หลังจากหลังก็ตามด้วยเป็นคนในครอบครัว คนสนิท คนรู้จักหรือผู้ที่เคารพนับถือของผู้ที่จากไป เข้ามาวางดอกไม้จันทน์ ก่อนที่จะทำการเผาศพ
- การเก็บอัฐิ
ขั้นตอนการเก็บอัฐิแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ 1. ทำพิธีเก็บอัฐิในวันเผา 2. ทำพิธีเก็บอัฐิในวันรุ่งขึ้น เจ้าภาพต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ของวัดทราบว่าต้องการทำแบบไหน รวมถึงต้องจัดเตรียมโกศสำหรับบรรจุอัฐิ น้ำอบหรือน้ำหอม ดอกไม้ และอาหารคาวหวานสำหรับถวายพระสงฆ์ด้วย
- ลอยอังคาร
ขั้นตอนการลอยอังคารเป็นความเชื่อของคนไทยที่เชื่อกันว่า ร่างกายมนุษย์เกิดจากธาตุทั้งประกอบรวมกัน คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ เมื่อร่างกายแตกดับแล้วก็ควรให้กลับสู่สภาพเดิม และนอกจากนี้ยังเชื่ออีกด้วยว่าการนำอัฐิไปลอยที่แม่น้ำหรือทะเล จะทำให้ผู้ล่วงลับจากไปอย่างสงบสุข มีความสุข เหมือนดั่งสายน้ำนั่นเอง
หากใครสนใจการให้บริการครบจบทุกอย่างในที่นี่ที่เดียว สามารถเข้ามาชมที่ เว็บไซต์ www.suriyafuneral.com ได้ เพราะเราจะดูแลผู้ที่จากไปอันเป็นที่รักของคุณเหมือนคนในครอบครัวเรา เราตั้งใจทำตั้งแต่ต้นจนจบ ใส่ใจทุกรายละเอียด หรือ เข้ามาปรึกษาสอบถามเราได้ที่ 02-950-0989 ได้ตลอด 24 ชม.