ความเชื่อโบราณในการจัดงานศพ
ความเชื่อโบราณในการจัดงานศพ ชีวิตเราทุกคน เริ่มต้นจากการเกิด เติบโตขึ้น เมื่อถึงจุดหนึ่งก็จะเริ่มเสื่อมลงตามวัยและความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น จนในระยะสุดท้ายของชีวิต ก็จะมีการเสื่อมลงของอวัยวะต่าง ๆ จนไม่สามารถมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ เมื่อมีคนจากไปก็มักจะมี “งานศพ” ตามมาเสมอ ดังนั้นการจัดงานศพจึงเป็นงานสำคัญที่ครอบครัวจะจัดให้ผู้วายชนม์เป็นครั้งสุดท้าย สำหรับความเชื่อในเรื่องของการจัดพิธีงานศพตามโบราณมีดังนี้
- อาบน้ำศพ
เป็นขั้นตอนในพิธีการจัดงานศพแบบไทย มีมาตั้งแต่สมัยในอดีต เชื่อกันว่าการอาบน้ำศพ จะช่วยให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วได้เดินทางไปสู่ภพภูมิที่ดี มีร่างกายและใจบริสุทธิ์ ในอดีตการอาบน้ำศพจะใช้สบู่ฟอกศพในทุกส่วนของร่างกาย หรือใช้น้ำต้มสมุนไพรอุ่น ๆ มาอาบ จากนั้นล้างออกด้วยน้ำสะอาดเช็ดให้แห้งแล้วนำขมิ้นมาทาทั่วร่าง สำหรับในปัจจุบันนี้จะปรับเปลี่ยนวิธีการอาบน้ำศพแบบใหม่ โดยไม่ได้ฟอกสบู่หรืออาบด้วยต้มน้ำสมุนไพร แต่จะใช้ น้ำอบผสมดอกไม้ที่มีกลิ่นหอม เช่น ดอกมะลิไว้สำหรับให้แขกที่มาในงาน ตักเพื่อรดน้ำที่มือของผู้เสียชีวิต และก่อนเผาจะนำมะพร้าวเป็นลูกมาเฉาะแล้วนำน้ำมะพร้าวมาล้างหน้าศพ เป็นกุศโลบายเพื่อให้ผู้ที่ล่วงลับได้ชำระร่างกายให้สะอาดก่อนเดินทางสู่สัมปรายภพ
- หวีผม
การหวีผมให้ศพนั้นเป็นขั้นตอนในการจัดพิธีงานศพไทยในสมัยก่อนที่ต่อจากการอาบน้ำศพ ซึ่งคนในสมัยก่อนจะใช้หวีเสนียด เพื่อหวีผมให้แก่ศพเป็นจำนวน 3 ครั้ง หรือหวีแบบแบ่งเป็น 2 ซีก คือหวีไปข้างหน้าซีกหนึ่ง และหวีไปข้างหลังอีกซีกหนึ่ง เพราะเชื่อว่าเป็นตัวแทนระหว่างคนที่ยังมีชีวิตอยู่และคนที่เสียชีวิตไปแล้ว จากนั้นก็ให้หักหวีเป็น 2 ท่อนทิ้ง เพื่อไม่ให้คนที่ยังมีชีวิตอยู่เผลอหยิบไปใช้นั่นเองค่ะ โดยการหวีผมให้แก่ศพนั้นก็ถือเป็นปริศนาธรรมให้แก่คนที่ยังมีชีวิตอยู่ว่าต่อให้หวีนั้นจะเป็นหวีที่ดีมากมายเพียงใด หากถูกหักทิ้งก็จะไม่สามารถใช้งานต่อได้อีก เปรียบได้กับชีวิตของคนเราที่ไม่เที่ยงแท้ และความตายกับการเกิดเป็นของคู่กัน เมื่อมีเกิดก็ต้องมีดับ
- เทียนขี้ผึ้ง
เนื่องจากว่าสมัยโบราณวิวัฒนาการทางการแพทย์ยังไม่ล้ำสมัย ไม่มีเครื่องมือแพทย์ที่ยืนยันในการเสียชีวิตได้ ซึ่งบางคนลมหายใจแผ่วเบามากๆแต่ยังไม่เสียชีวิตก็มี ดังนั้นภูมิปัญญาของคนโบราณจะใช้เทียนขี้ผึ้ง 1 เล่มมาจุด จากนั้นรอเวลาให้เทียนละลายหมดไปเอง หากว่าคนที่ลมหายใจแผ่วเบาหรือหยุดหายใจไปแล้วไม่ฟื้น ก็แสดงว่าเสียชีวิตแล้วจริงๆ
- หมากใส่ปากผู้เสียชีวิต
เป็นความเชื่อโบราณเกี่ยวกับการจัดพิธีงานศพไทยในสมัยก่อนที่คล้ายคลึงกันคือเป็นปริศนาธรรมที่สั่งสอนคนที่ยังมีชีวิตอยู่ว่าหลังจากเสียชีวิตก็ไม่สามารถเคี้ยวเพื่อลิ้มรสความอร่อยของหมากได้อีกต่อไป ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะว่าคนไทยในสมัยก่อนมักชื่นชอบการตำหมากและการเคี้ยวหมาก ดังนั้นจึงนำหมากใส่ไว้ในปากของผู้ล่วงลับ เพื่อที่จะได้เคี้ยวลิ้มรสระหว่างเดินทางไปสู่โลกหลังความตายนั่นเอง
- ประตูป่าสร้างขึ้นเพื่อใช้ในงานศพโดยเฉพาะ
เมื่อมีคนเสียชีวิตที่บ้าน คนสมัยก่อนจะนำผนังบ้านมาทำเป็นซุ้มประตูป่าในการเคลื่อนย้ายศพโดยหันทางปลายเท้าออกมาทางหน้าบ้าน โดยเชื่อกันว่าไม่ให้ดวงวิญญาณเกิดความห่วงหาและอยากกลับบ้าน หลังจากเคลื่อนย้ายศพพ้นประตูป่าไปแล้วจะรื้อทิ้งทันที ไม่เก็บไว้โดยเด็ดขาด
- ใส่เงินไว้ในปากของศพ
ความเชื่อนี้คนสมัยก่อนจะนำเงินผูกเชือก และใส่ลงไปในปากของผู้เสียชีวิต โดยเชื่อกันว่าวิญญาณสามารถนำเงินนี้ ไปใช้ในเมืองผี แต่ก็แฝงไปด้วยกุศโลบายทางธรรมะที่สอนว่า ในตอนที่ยังมีชีวิตอยู่จะหาเงินได้มากหรือน้อยสักเพียงใดไม่ได้สำคัญเท่ากับว่าตอนเสียชีวิตไปแล้ว ไม่สามารถนำเงินติดตัวไปได้แม้แต่บาทเดียว ตอนมาก็มาแต่ตัวตอนไปก็ไปแต่ตัวเช่นเดียวกัน
- โปรยข้าวสารข้าวตอก
การโปรยข้าวสารตอกจะเป็นขั้นตอนของการจัดพิธีงานศพไทยในสมัยก่อนที่ต่อเนื่องจากการซัดข้าวสารขับไล่สิ่งอัปมงคลก่อนจะเคลื่อนย้ายศพไปยังวัดนั่นเองค่ะ โดยคนในสมัยก่อนจะนำข้าวสารตอกโปรยลงพื้นไปเรื่อย ๆ ตลอดทางระหว่างเคลื่อนย้ายศพไปยังวัด ซึ่งการโปรยข้าวสารตอกนี้เป็นปริศนาธรรมให้แก่คนที่ยังมีชีวิตอยู่ว่าเมื่อคนเราเสียชีวิตไปแล้วย่อมไม่มีทางฟื้นคืนชีพกลับมาได้อีก เช่นเดียวกับข้าวสารตอกที่ต่อให้โปรยลงพื้นก็ไม่มีทางกลับมางอกเงยได้อีก
- บันไดศพหรือที่เรียกกันว่าบันไดผี
ในสมัยก่อนเมื่อจะขนย้ายศพลงจากชานเรือน จะต้องมีบันไดที่สร้างขึ้นใหม่ มีความเชื่อเพื่อไม่ให้วิญญาณกลับเข้ามาในบ้านได้ เพราะบันไดผีได้ถูกทำลายไปแล้ว
- บอกทางวิญญาณ
ในระหว่างการเคลื่อนย้ายโลงศพไปที่วัด ทางญาติจะบอกเส้นทางว่าตอนนี้ถึงตรงไหนแล้ว เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา เพื่อให้วิญญาณเดินตามร่างของตัวเองจะได้ไม่หลงทาง
- การซัดข้าวสารไล่สิ่งอัปมงคล
ความเชื่อนี้จะทำในระหว่างการขนศพออกจากบ้าน การซัดข้าวสารพร้อมบริกรรมคาถาเป็นการไล่สิ่งอัปมงคลให้ออกจากบ้านไปไม่ให้หลงเหลืออยู่ ทั้งนี้จะต้องมีผู้เชี่ยวชาญในการบริกรรมคาถาและทำพิธีนี้
- พวงหรีด
มีต้นกำเนิดมาตั้งแต่สมัยอารยธรรมยุโรปโบราณ ซึ่งสมัยนั้นจะใช้มงกุฎแกะสลักเป็นรูปใบไม้หรือดอกไม้ ซึ่งมีอายุ 400 ปีก่อนคริสตกาล เพื่อเป็นการไว้อาลัยแด่นักรบผู้เสียสละเพื่อแผ่นดิน ต่อมาในสมัย รัชกาลที่ 5 อารยธรรมตะวันตกได้เผยแผ่เข้ามาในเมืองไทย และมีหลักฐานภาพถ่ายดอกไม้หลายชนิดที่มีลักษณะเป็นวงกลมตั้งในงานพระเมรุของสมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตาหรือเจ้าจอมมารดาเปี่ยมพระสนมเอกในรัชกาลที่ 4 เพื่อแสดงความไว้อาลัยและความโศกเศร้าพวงหรีด จึงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ในการแสดงความเสียใจไว้อาลัยตั้งแต่ชนชั้นสูงไปจนถึงประชาชนทั่วไปนี้
บทความที่เกี่ยวข้อง
จากความเชื่อโบราณเกี่ยวกับการจัดพิธีงานศพไทยในสมัยก่อนที่ ได้อ่านกันไปแล้วนั้นจะเห็นได้ว่าเกือบทุกขั้นตอนก็จะแฝงปริศนาธรรมให้แก่คนที่ยังมีชีวิตอยู่ถึงเรื่องราวเกี่ยวกับโลกของความตายและสัจธรรมของความไม่เที่ยงแท้ในชีวิต สำหรับท่านใดที่ต้องการสอบถามเกี่ยวกับโลงศพ หรือ การจัดงานศพ และอุปกรณ์ในการทำพิธีแบบครบวงจร มีทุกศาสนาทุกรูปแบบ สามารถปรึกษาสุริยาหีบศพได้เลยนะคะ หรือสามารถดูในเว็บไซต์ Suriya Funeral เพื่อขอดูโปรโมชั่นในการจัดงานศพ โลงศพ ดอกไม้หน้าโลงศพ หรือรถรับส่งได้ เมื่อถึงเวลาในการเคลื่อนย้ายจะได้ไม่เกิดความผิดพลาด โดยทางเราพร้อมให้บริการตลอด 24 ชม. ด้วยประสบการณ์ด้านโลงศพที่ยาวนาน การันตีคุณภาพโลงศพ และบริการของทางเรา มีโลงศพให้เลือกมากกว่า 100 แบบ อาทิ โลงศพเทพพนม โลงศพไม้สัก โลงศพจำปา โลงศพคริสต์ เป็นต้น หากเกิดข้อสงสัยเรื่อง โลงศพ ดอกไม้หน้าโลงศพ สามารถปรึกษาได้ที่ โทร 02-950-0989 ได้ตลอด 24 ชม. เรายินดีให้บริการค่ะ
สามารถติดต่อได้ที่
Website : www.suriyafuneral.com
Line : @suriyagroup
Facebook : สุริยาหีบศพ , Suriya Funeral
Tel : 02-950-0989 ได้ตลอด 24 ชม.