พิธีกรรมงานศพจังหวัดพัทลุง

พิธีกรรมงานศพจังหวัดพัทลุง

พิธีกรรมงานศพจังหวัดพัทลุง

พิธีกรรมงานศพจังหวัดพัทลุง  ในสังคมแต่ละเชื้อชาติมีความเชื่อปฏิบัติต่องานศพ พิธีกรรมแตกต่างกันออกไป ตามวัฒนธรรมของตนเองชาวพัทลุงมีความเชื่อว่าการตายเป็นเรื่องของวิญญาณที่ละทิ้งร่างกายเดิมเพื่อไปจุติในภพใหม่ หากผู้ตายทำกรรมดีก็จะได้ไปสู่ภพภูมิที่ดี หากทำกรรมชั่ววิญญาณก็จะวนเวียนไม่สามารถไปภพใดได้ เมื่อตายไปแล้วญาติ ๆ ก็จะจัดงานศพตามประเพณี วันนี้สุริยาหีบศพจะมาพูดถึง พิธีกรรมงานศพจังหวัดพัทลุง มีพิธีกรรมอย่างไรบ้าง

พิธีกรรมงานศพจังหวัดพัทลุง

 

พิธีกรรมงานศพ

1. การจำเริญอายุ หรือ บังสุกุล เมื่อคนในบ้านป่วยหนักใกล้จะตาย ญาติจะนิมนต์พระสงฆ์ 5 รูป หรือ 7 รูป มาเจริญพระพุทธมนต์ เรียกว่า ” การบังสุกุลเป็น ” เป็นการทำบุญให้ผู้ป่วยเห็นก่อนสิ้นใจ ผู้ป่วยบางรายเมื่อทำพิธีบังสุกุลเป็นแล้วฟื้นไข้หายป่วยเป็นปกติถือว่าเป็น “การต่ออายุ” หรือ  “การจำเริญอายุ”

 

2. การบอกทาง ก่อนผู้ป่วยจะสิ้นใจญาติจะจัดดอกไม้ธูปเทียนบรรจุในกรวยใบตองให้ผู้ป่วยถือพนมมือ หรือ นิมนต์พระสงฆ์มารูปหนึ่ง และตั้งพระพุทธรูปไว้ใกล้ ๆ แล้วคอยเตือนให้ผู้ป่วยระลึกถึงพระพุทธคุณด้วยการกล่าวคำว่า ” อรหัง ” หรือ ” พุทโธ ” เพื่อจะได้ภาวนา และยึดถือเป็นพุทธานุสติเมื่อสิ้นลมหายใจแล้วจะได้ไปสู่สุคติ การให้ผู้ป่วยถือดอกไม้ก่อนสิ้นใจเชื่อว่าจะนำไปบูชาพระเจดีย์จุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

 

3. การอาบน้ำศพ เมื่อญาติพี่น้องมาพร้อมกันจึงทำพิธีอาบน้ำศพ โดยเอาขมิ้นกับดินเหนียวตำเคล้าให้เข้ากันแล้วเอาน้ำร้อน น้ำเย็น น้ำมะพร้าวมาผสมเพื่ออาบชำระศพให้สะอาด การอาบน้ำศพจะทำกันเฉพาะลูกหลานเป็นการภายในเท่านั้น บางท้องที่จะเอาใบมะกรูด ใบมะนาว และรากสะบ้ามาตำกับขมิ้นทาศพเป็นการดับกลิ่น และฆ่าเชื้อโรค การเอาขมิ้นมาผสมกับดินเหนียว น้ำร้อน น้ำเย็น และน้ำมะพร้าวนั้น เพื่อแทนธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ส่วนการใช้รากสะบ้า ใบมะกรูด ใบมะนาว มาตำกับขมิ้นทาศพ ถือเป็นปริศนาธรรม

 

4. การแต่งศพ เมื่ออาบน้ำศพเสร็จแล้วให้นั่งเงยหน้าขึ้น ใช้ยอดกล้วยทำเป็นกรวยกรอกน้ำผึ้งรวง หรือ น้ำตาลเหลวผสมการบูรลงไปในท้องมากๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ศพเน่าเร็ว แล้วจึงแต่งศพด้วยการหวีผมให้ปรกลงมาทางด้านหน้า หวีที่ใช้แล้วหักทิ้งใส่ในโลงศพ จากนั้นจึงนุ่งห่มให้ศพด้วยชุดที่ผู้ตายชอบใช้เมื่อยังมีชีวิตอยู่ หรือ ให้นุ่งผ้าขาวทำพกให้ข้างหลังหางกระเบนอยู่ข้างหน้า หรือ ไม่นุ่งโจงกระเบนก็ได้ ถ้าใช้กางเกงให้สวมกลับหน้าเป็นหลัง การสวมเสื้อ และกลัดกระดุมก็ต้องกลับมาอยู่ข้างหลังแทนข้างหน้าเช่นกัน

 

5. การผูกศพ และตราสัง หลังจากแต่งศพเรียบร้อยแล้วก็เอาด้ายขาวผูกคล้องมือคล้องเท้าแล้วโยงไปผูกไว้ที่คอ ซึ่งมีความหมายว่าคนมีบ่วง 3 บ่วง คือ บุตร (คอ) ภรรยา (มือ) และทรัพย์สิน (เท้า) บ่วงทั้ง 3 นี้ จะเป็นสิ่งผูกมัดคนเมื่อมีชีวิตอยู่ แล้วเอาดอกไม้ ธูป เทียน หมากพลูใส่ในมือผู้ตายซึ่งจัดให้ประสานกันประหนึ่งประนมมืออันแสดงถึงความเป็นพุทธศาสนิกชน และมักจะเอาเหรียญบาท หรือ เงินทองใส่ปากผู้ตาย เพราะเชื่อว่าจะได้นำไปใช้ในโลกหน้า แล้วใช้ใบพลูปิดหน้าศพ จากนั้นจึงเอาผ้าขาวห่อศพให้มิดชิดหลาย ๆ ชั้น ใช้ด้ายขาวมัดตราสังข์เป็นเปราะ ๆ ให้แน่นตั้งแต่หัวจรดเท้าแล้วนำไปใส่ในโลงศพให้นอนหงาย

 

6. การทำโลงศพ โลงศพทำด้วยไม้ลักษณะปากผายกว้างกว่ากัน แนวต่อของไม้ที่กันโลงศพจะต้องใช้ดินเหนียวตำผสมกับใบบอน หรือ ใบฝรั่งยาตลอดเพื่อไม่ให้น้ำเน่าน้ำหนองไหลซึมออกมาข้างนอก แล้วเอาปูนขาวผสมด้วยสิ่งที่ดูดซึมง่าย เช่น ขี้เลื่อยโรยไว้บน จากนั้นจึงเอาไม้รอดตั้งขวางโลงศพไว้ 4 อัน เรียกว่า ” ไม้ก้านตอง ” หรือ ” ไม้ข้ามเล ” (ทะเล) ใช้ไม้ฟาก 7 ซี่ วางบนไม้รอด ฟาก 7 ซี่นั้นต้องถักเชือก 3 แห่ง ให้ไปทางเดียวกัน ไม่กลับไปกลับมา ซึ่งหมายถึงการข้ามพ้นแล้วจะไม่กลับไปอีก ครั้นเอาศพลงโลงศพเรียบร้อยแล้วก็นิมนต์พระสงฆ์มาสวด ” การสวดหน้าศพ ”  หรือ “สวดหน้าไม้ ”

 

7. การตั้งศพ การตั้งศพจะสร้างเป็นโรงยกพื้น ที่ตั้งมีฐานรองรับ 2 – 3 ชั้น และนิยมจัดให้ศพหันศีรษะไปทางทิศตะวันตก จัดโต๊ะหมู่บูชา ที่พระสงฆ์นั่งสวดพระอภิธรรม และที่แสดงพระธรรมเทศนาอยู่ในอันสมควร การตั้งศพบำเพ็ญกุศลที่บ้านอาจจะเป็น 3 วัน หรือ 7 วัน ขึ้นอยู่กับลูกหลานมากน้อย ถ้ามากอาจรอเวลาถึง 7 วัน หรือ อาจขึ้นอยู่กับวันเผาด้วย ในบางท้องถิ่นหลังจากพระสวดแล้วอาจมีฆราวาสสวดคฤหัสถ์ ซึ่งเรียกว่า “สวดมาลัย” ในช่วงดึก ๆ ซึ่งปัจจุบันหาดูได้ยากแล้ว นอกจากนี้ในสมัยก่อนนิยมใช้วง “กาหลอ ” บรรเลงในงานศพ แต่ปัจจุบันนิยมใช้พิณพาทย์ หรือ เครื่องดุริยางค์แทน และอาจจัดให้มีหนังตะลุง หรือ มโนรามาแสดงด้วย ส่วนกาหลอยังมีอยู่บ้างในชนบทเท่านั้น ตลอดเวลาที่ตั้งศพบำเพ็ญกุศล จะมีการตั้งอาหาร ข้าว น้ำ เซ่นศพวันละ 2 เวลา บางรายมีการเคาะโลงศพบอกให้กินด้วย

 

8. การค้างศพ สมัยก่อนในจังหวัดพัทลุง ถ้ามิได้เผาศพภายใน 3 วัน 7 วัน จะนำศพมาค้างไว้โดยการสร้างฟากไม้ไผ่ให้กว้างเท่ากับรอบตัวศพ แล้วมัดม้วนหุ้มศพนำไปค้างไว้บนต้นไม้ ปล่อยให้เน่าจนเหลือแต่กระดูกจึงนำไปเผา หรือไม่ก็ทิ้งไว้จนไม้ไผ่ผุ โครงกระดูกตกหล่นลงมากองกับพื้น อีกวิธีหนึ่งเรียกว่า “ค้างเทิน ” คือ ค้างโดยใส่โลงศพฝังดินไว้ครึ่งหนึ่ง ปิดฝาทั้งด้านบน และด้านล่างป้องกันสัตว์จะมากัดกินศพ หลังจากนั้น จึงนำไปเผา หรือ ทิ้งไว้จนเน่าเปื่อยเหลือแต่กระดูก

 

9. การเผาศพ การเลือกวันเผาศพจะถือเอาวันขึ้นแรมเป็นสำคัญคือ ข้างขึ้นห้ามเผาวันเลขคี่ ข้างแรมห้ามเผา วันเลขคู่ เช่น วันขึ้น 1 ค่ำ 3 ค่ำ หรือ แรม 2 ค่ำ 4 ค่ำ 6 ค่ำ เหล่านี้จะเผาศพไม่ได้ เชื่อว่าเป็น ” วันผีหามคน ” แต่ถ้าเป็นวันขึ้น 2 ค่ำ 4 ค่ำ 10 ค่ำ หรือ วันแรม 1 ค่ำ 3 ค่ำ เหล่านี้เผาได้ เชื่อเป็นว่า ” วันคนหามผี ” แม้จะตรงกับวันพระ วันอาทิตย์ วันศุกร์ หรือ วันใด ๆ ก็ไม่ห้าม  เมื่อนำศพไปถึงป่าช้า ก่อนเผาต้องหามศพเวียนที่เผาไปทางซ้ายมือ 3 รอบ แล้ววางโลงศพให้ศพหันศีรษะไปทางทิศตะวันตก ลูกหลานต้องนำ ” ข้าวบอก ” ซึ่งประกอบด้วย ข้าวปากหม้อ ปลามีหัวมีหาง เงิน ใส่ถ้วยไปเซ่นสังเวยเจ้าเปรว (เจ้าป่าช้า) ที่ชื่อว่า ยายกาลี ตากาลา แต่ชาวบ้านเรียกกลับกันเป็น ยายกาหลา ตากาหลี เพื่อบอกกล่าวฝากฝังวิญญาณผู้ตาย สมัยก่อนที่เผาศพมักทำเป็นการชั่วคราว ใช้เสาปักไว้ 4 ต้น มีเพดานเรียกว่า ” สามส้าง ” ปัจจุบัน ที่เผาศพทำเป็นเชิงตะกอน หรือ เมรุอย่างถาวร

 

10. การดับธาตุ หลังจากเผาศพเสร็จแล้วในวันรุ่งขึ้นประมาณ 6 โมงเช้า จะมีการนิมนต์พระสงฆ์มาเพื่อดับธาตุ โดยลูกหลานจะเก็บอัฐิรวบรวมกับกระดูก เถ้าถ่านทำเป็นรูปคนนอนหันหัวไปทางทิศตะวันตกรดด้วยน้ำอบไทย แล้วเอาผ้าขาวคลุมไว้ นิมนต์พระสงฆ์มาชักผ้าบังสุกุล หลังจากนั้นแปรเถ้าถ่านให้หัวหันไปทางทิศตะวันออก เก็บกระดูกใส่ผ้าขาวนำไปเก็บไว้ในบัว หรือ สถูป ส่วนเถ้าถ่านที่เหลือจะนำไปฝัง หรือ ลอยกลางแม่น้ำ หรือ ทะเลต่อจากนั้นจึงมีการทำบุญตักบาตรเมื่อครบ 7 วัน 30 วัน และ 100 วัน

 

บทความที่เกี่ยวข้อง 

 

หากท่านใดสนใจซื้อโลงศพ หรือ เพื่อบริจาคทำบุญ สามารถสอบถามทางร้าน suriyafuneral เพื่อหา โลงศพ ได้นะคะ และสำหรับท่านใดที่ต้องการสอบถามเกี่ยวกับหีบศพ โลงศพ หรือ การจัดงานศพ และอุปกรณ์ในการทำพิธีแบบครบวงจร มีทุกศาสนาทุกรูปแบบ สามารถปรึกษาสุริยาหีบศพได้เลยนะคะ เราเป็นผู้ให้บริการหลังความตายแบบครบวงจร ให้เราเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลงานศพของคนที่คุณรักไปจนถึงวินาทีสุดท้ายเลยนะคะ สามารถปรึกษา หรือ สอบถามเพิ่มเติมได้ตลอด 24 ชั่วโมง เรายินดีบริการค่ะ

 

Website: www.suriyafuneral.com

Line : @Suriyagroup

Tel: 02-950-0989 (ติดต่อได้ตลอด 24 ชม.)

หีบศพ โลงศพ

ให้เราดูแลคุณ จนถึงวินาทีสุดท้าย