พิธีกรรมงานศพแบบล้านนา
พิธีกรรมงานศพแบบล้านนา เป็นพิธีกรรมที่ผสมผสานระหว่างพุทธศาสนาพราหมณ์ และด้านไสยศาสตร์ พิธีกรรมการจัดงานศพที่แตกต่างกันออกไปตามลักษณะของการตาย ซึ่งชาวล้านนาได้มีการจัดลักษณะการตายออกเป็น 2 ประเภท คือ ตายดี และตายร้าย วันนี้แอดมินสุริยาหีบศพจะมาพูดถึง พิธีกรรมงานศพแบบล้านนา ความเป็นมา ความเชื่อ และการจัดงานศพแบบล้านนา และการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยกันนะคะ
ขอบคุณรูปภาพจาก : https://region3.prd.go.th/region3_ci/topic/news/25737
พิธีกรรมงานศพ ความเป็นมา ความเชื่อ
ขั้นตอนการทำพิธีศพของคนในภาคเหนือนั้น เมื่อมีคนตายขึ้นทางบ้านโดยลูกหลาน หรือ ญาติพี่น้องก็จะรีบไปติดต่อซื้อโลงศพ และปราสาททันที การตั้งศพจะประกอบด้วยโลงศพมีการประดับประดาด้วยไฟสี หรือ ไฟกระพริบอย่างสวยงามก่อนที่จะนำโลงศพขึ้นบรรจุบนปราสาท จะมีการทำพิธีกรรมทางสงฆ์คือ การทานปราสาทเสียก่อน โดยจะนิมนต์พระสงฆ์มาเป็นผู้ทำพิธีก่อนที่ชาวบ้าน และลูกหลานของคนตายจะช่วยกันยกโลงศพขึ้นบรรจุบนปราสาท ซึ่งพิธีทานประสาทมักจะกระทำก่อนวันเผา 1 วัน
งานศพจัดเพื่อเป็นการยกย่องผู้ตายให้ได้ขึ้นไปสู่สรวงสวรรค์ชั้นฟ้า ปราสาทงานศพจะนิยมใช้ในพิธีงานศพของจังหวัดต่าง ๆ ในภาคเหนือเท่านั้น สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นวัฒนธรรมที่รับมาจากเมืองเชียงรุ้งแห่งสิบสองปันนา ซึ่งถือว่าเป็นต้นตระกูลไทแต่ดั้งเดิมรูปแบบของปราสาทงานศพมีด้วยกัน 2 รูปแบบคือ ปราสาทที่ทำด้วยไม้ ซึ่งเป็นวัสดุดั้งเดิมส่วนใหญ่ทำมาจากไม้ฉำฉา เพราะมีน้ำหนักเบา และเวลาเผาจะไหม้ติดไฟง่าย ส่วนอีกรูปแบบหนึ่งจะเป็นวิวัฒนาการของปราสาทสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ โดยจะนำโต๊ะ เก้าอี้มาประดับในปราสาท เมื่อเวลาเผาศพแล้วก็จะนำโต๊ะ เก้าอี้เหล่านั้นไปมอบถวายให้กับวัดเพื่อใช้ในสาธารณประโยชน์ต่อไป
พิธีกรรมการจัดงานศพของชาวล้านนามีขั้นตอนการทำศพอย่างละเอียด เช่น การอาบน้ำศพ การหวีผมศพ การทำโลงศพ และการเผาศพ เป็นต้น นอกจากชาวล้านนายังมีความเชื่อในพิธีกรรมการจัดงานศพที่เป็นลักษณะเฉพาะของท้องถิ่น เช่น ความเชื่อเรื่องนกหัสดีลิงค์ ความเชื่อเรื่องการทำปราสาทศพ และความเชื่อเรื่องการอยู่เฮือนเย็น เป็นต้น
วัดในแถบภาคเหนือจะต่างจากวัดของภาคอื่น ๆ คือในวัดจะไม่มีเมรุเผาศพ เพราะการเผาศพจะไม่ได้เผาที่วัด แต่จะนำไปเผาที่สุสาน หรือ ป่าช้าคนล้านนาเรียกว่า “ป่าเหี้ยว” นอกจากปราสาทที่พบอยู่ในพิธีกรรมงานศพของคนธรรมดาแล้วยังมีปราสาทอีกชนิดหนึ่งที่ใช้บรรจุศพของพระที่มรณภาพ จะแตกต่างกันในรายละเอียด และทำขึ้นอย่างสวยงามมากกว่าของคนธรรมดา ส่วนใหญ่แล้วจะทำขึ้นเป็นรูปนกหัสดีลิงค์ ซึ่งตามตำนานเชื่อว่า นกหัสดีลิงค์เป็นนกในวรรณคดี ไทยที่มีพละกำลังมากเป็น 5 เท่าของช้าง และเป็นพาหนะของผู้มีบุญ ดังนั้นในพิธีงานศพของพระเถระเราจึงเห็นปราสาทบรรจุศพทำเป็นรูปนกหัสดีลิงค์
หลังจากที่ยุคสมัยของบ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไป พิธีกรรมดังกล่าวก็เปลี่ยนแปลง จะเห็นได้ว่าในสังคมปัจจุบันไม่ได้มีการเผาศพกลางแจ้งอีกแล้ว ส่วนใหญ่จะนิยมเผาในเตาซึ่งไม่เป็นที่อุจาดตาแก่ผู้พบเห็นอีกทั้งขั้นตอนต่าง ๆ ก็ถูกตัดทอนให้สั้นลงเช่น การจุดประทัด พลุ หรือ บอกไฟ ที่คนล้านนามีความเชื่อต้องการส่งวิญญาณของผู้ตายให้ขึ้นสู่สวรรค์นั้น ปัจจุบันทางราชการมีประกาศห้ามจุดพลุ หรือ บอกไฟในพิธีงานศพ เพราะทำให้เกิดเสียงดังเป็นที่รำคาญแก่คนในชุมชน นั้นเองค่ะ เนื่องด้วยความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย และความทันสมัยของผู้คน
บทความที่เกี่ยวข้อง
หากท่านใดสนใจซื้อโลงศพ หรือ เพื่อบริจาคทำบุญ สามารถสอบถามทางร้าน suriyafuneral เพื่อหา โลงศพ ได้นะคะ และสำหรับท่านใดที่ต้องการสอบถามเกี่ยวกับหีบศพ โลงศพ หรือ การจัดงานศพ และอุปกรณ์ในการทำพิธีแบบครบวงจร มีทุกศาสนาทุกรูปแบบ สามารถปรึกษาสุริยาหีบศพได้เลยนะคะ เราเป็นผู้ให้บริการหลังความตายแบบครบวงจร ให้เราเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลงานศพของคนที่คุณรักไปจนถึงวินาทีสุดท้ายเลยนะคะ สามารถปรึกษา หรือ สอบถามเพิ่มเติมได้ตลอด 24 ชั่วโมง เรายินดีบริการค่ะ
Website: www.suriyafuneral.com
Line : @Suriyagroup
Tel: 02-950-0989 (ติดต่อได้ตลอด 24 ชม.)