“โลกสมุตติ” พิธีศพที่เลือนหายไปของชาวรามัญ
“โลกสมุตติ” พิธีศพที่เลือนหายไปของชาวรามัญ ทุกศาสนาและทุกเชื้อชาติ มีพิธีกรรม ความเชื่อและพิธีศพที่แตกต่างกันออกไปตามแต่วัฒนธรรมที่หล่อหลอมกันขึ้นมา ดังเช่นชาวมอญหรือชาวรามัญ ที่มีความเชื่อเกี่ยวกับพิธีกรรมหลังความตายที่ยึดถือปฏิบัติตามคัมภีร์ “โลกสมุตติ” ซึ่งสืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งกรุงหงสาวดี นั่นเอง
ตามคัมภีร์โลกสมุตติของชาวมอญนั้น ได้มีการแบ่งแยกประเภทของการตายออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ ตายดีและตายไม่ได้ ตายดีคือ การตายที่มาจากความชรา หรือป่วยตาย ส่วนตายไม่ดี คือ การตายแบบกะทันหัน อย่าง ฆ่าตัวตาย อุบัติเหตุ รวมไปถึงการตายของเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 12 ปี ซึ่งชาวมอญจะปฏิบัติตามข้อห้ามอย่างเคร่งคัด เพราะมีเชื่อกันว่าหากปฏิบัติไม่ถูกวิธีจะทำให้ลูกหลานประสบภัยพิบัติต่าง ๆ นานา ซึ่งความเชื่อเหล่านี้มีผลมาจากที่ชาวมอญนับถือผีและศรัทธาในพระพุทธศาสนาไปพร้อม ๆ กัน
ธรรมเนียมปฏิบัติสำหรับการตายที่ดี
การตายที่ดี แบ่งออกเป็น 2 ประการด้วยกัน คือ ผู้เสียชีวิตที่เป็นผู้สูงอายุและเสียชีวิตด้วยความชราภาพ หรือเจ็บป่วยตาย จะต้องตายในบ้านของตนเองเท่านั้น เพราะหากเสียชีวิตนอกบ้านชาวมอญจะไม่นำศพเข้าบ้านเด็ดขาย จึงทำให้ไม่สามารถจัดงานศพที่บ้านได้ ดังนั้นเมื่อคนมอญไม่สบายแล้วไปรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล หากหมดโอกาสในการรักษา ญาติจะนำผู้ป่วยกลับบ้าน และเมื่อเสียชีวิตแล้ว คนในบ้านก็จะไปบอกกล่าวแก่ญาติพี่น้อง และเพื่อนบ้านให้มาช่วยงานเพื่อจัดเตรียมงานตามศาสนา โดยจะต้องมี โลงศพ สำหรับนำร่างผู้เสียชีวิตใส่โลงศพ กลับบ้านทำพิธี
- การจัดการกับร่างของผู้เสียชีวิต
ในการอาบน้ำศพของชาวมอญนั้น จะทำให้ตอนบ่ายหรือตอนเย็นเท่านั้น เพราะมีข้อห้ามในการอาบน้ำศพในช่วงเที่ยง ทั้งการอาบน้ำศพก็จะต้องมีผู้รู้พิธีเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งญาติของผู้เสียชีวิตและแขกที่มาร่วมงานก็จะมร่วมอาบน้ำศพ โดยจะใช้น้ำส้มป่อยผสมขมิ้นราดไปที่ร่างของผู้เสียชีวิต จากนั้นให้ใช้น้ำอาบอีกครั้ง โดยจะราดตั้งแต่ปลายเท้าจนถึงศีรษะของผู้เสียชีวิต เมื่ออาบน้ำเสร็จแล้วก็จะมีการแต่งตัวให้ศพ ไม่ว่าผู้เสียชีวิตจะเป็นหญิงหรือชายจะนุ่งโปงมอย ซึ่งเป็นการผ่าผ้านุ่งตามยาวแล้วเย็บตะเข็บให้ติดกันคล้ายลักษณะกางเกง แล้วจึงนำเสื้อผ้าตามประเพณีนิยมมาสวมทับอีกชั้น จากนั้นทำการหวีผม โดยหวีลง 3 ครั้ง และหวีขึ้น ทาแป้งปะพรมน้ำอบน้ำหอม
จากนั้นจึงทำการมัดศพ โดยส่วนใหญ่จะเป็นผู้ชายมาช่วยกันมัด โดยใช้ด้ายขาวขนาดเดียวกับสายสิญจน์ ทำการมัดที่หัวแม่มือทั้ง 2 ข้างในลักษณะประนมมือเหนืออกเข้าไว้ด้วยกัน และมัดที่หัวแม่เท้าทั้งสองด้วยเช่นกัน และนำดอกไม้ธูปเทียนใส่ไว้ในมือ ตำหมากพลูพร้อมเงิน 1 บาท ใส่ไว้ในปากแล้วจึงนำใบพลูปิดปากอีกหนึ่งครั้ง
- การตั้งศพของชาวมอญ
การกำหนดที่ตั้งศพของชาวมอญจะต้องอยู่ในเขตเสาผี บริเวณของผีเรือน และหันศีรษะศพไปทางทิศตะวันออก ตามธรรมเนียมมอญจะห้ามนำโลงศพขึ้นบ้าน แต่จะให้ทำแคร่ไม้สำหรับวางศพไว้แทน เรียกว่า “โจงแหนะ” หรือ “โจงเนียะ” ที่แปลว่าเตียงชนะ คือให้ผู้ตายเอาชนะต่อภูมิทั้ง 4 ได้แก่ อบายภูมิ สุคติภูมิ 7 รูปภูมิ 16 อรูปภูมิ 4 ซึ่งในการทำโจงแหนะจะแฝงไปด้วยคติทางพระพุทธศาสนา ที่เป็นปริศนาธรรมแบบรามัญที่ได้ถือปฏิบัติกันมา กล่าวคือ การทำเสา 6 ต้น เพื่อให้ละทิ้งอารมณ์ทั้ง 6 หรือให้ไปถึงสวรรค์ชั้น 6 ทำแคร่เป็น 4 ชั้น เพื่อให้หลุดพ้นจากอบายภูมิทั้ง 4 พื้นแคร่ปูด้วยไม้ยาว 8 สั้น 8 หมายถึงให้พ้นจากนรกภูมิทั้ง 8 ชั้น เพดานใช้ไม้ 20 แผ่น ให้ไปถึงสวรรค์ชั้นพรมทั้ง 20 ภูมิ บริเวณปลายเตียงและหัวเตียง จะแขวนกระทงดอกไม้ด้านละ 2 กระทง แต่ละกระทงใส่ดอกไม้ 3 ดอก จากเพดานผูกเชือกให้หย่อนมาที่บริเวณสะดือ ปลายเชือกผู้แหวน 1 วงและกรรไกรหนีบหมาก 1 อัน โดยแหวนหมายถึงจักขุญาณ ผู้ตายจะได้ใช้เพื่อความกระจ่างแจ้งต่อภพหน้า ส่วนกรรไกรใช้ตัดกิเลส
- สถานที่ตั้งศพ
บริเวณใต้ถุนบ้านตำแหน่งที่วางศพ จะใช้ไม่ไผ่มาค้ำให้ตรงกับตำแหน่งที่ตั้งศพไว้ เมื่อเคลื่อนศพออกจากบ้านจะได้นำไม้ค้ำนี้ออกทันที
- เครื่องประกอบการตั้งศพ
ในการตั้งศพของชาวมอญจะวางเครื่องประกอบการตั้งศพไว้ที่ปลายเท้าของผู้เสียชีวิต ประกอบด้วย 2 ถาด มีตะเกียง 1 ดวงจุดไฟไว้ตลอดเวลา เสื้อผ้าชุดใหม่ 1 ชุด แหวน 1 วง แป้งหอม กระจกส่องหน้า หวี ส่วนถาดที่ 2 มีมะพร้าว 2 ผล ผ้าขาวบางผืนใหญ่ 2 ผืน ผ้าขาวบางผืนเล็ก 1 ผืน ไต้ก่อไฟ 1 มัด ขมิ้น ส้มป่อย ธูปเทียน และโกศใส่กระดูก 1 อัน
- ขบวนแห่ศพ
สำหรับการเคลื่อนศพออกจากบ้านจะเริ่มเคลื่อนในช่วงบ่าย เรียกว่า “ตะวันบ่ายควาย” หมายถึงตะวันยามบ่ายที่ร่มเงาของบ้านทอดยาวพอให้ควายนอนหลบได้หนึ่งตัว ซึ่งญาติจะนำประตูผีที่เตรียมไว้ทาบกับประตูทางเคลื่อนศพ แล้วทาบบันไดจึงเคลื่อนศพ ในการเคลื่อนศพนี้จะมีพิธีปฏิบัติโดยจะต้องมีผู้หญิงอาวุโสพร้อมทั้งหม้อส้มป่อยผสมขมิ้น อีกหม้อหนึ่งจะเป็นหม้อน้ำบริสุทธิ์ สตรีอีกคนมีมีถ้วยข้าวสาร เมื่อฝ่ายชายยกศพเคลื่อนที่ลงบันไดผีแล้ว จะราดน้ำส้มป่อยตามด้วยน้ำเปล่า เมื่อศพเคลื่อนถึงพื้นดินจะโดยน้ำส้มป่อยให้แตกบริเวณหัวบันไดบ้าน ส่วนหม้อน้ำให้คว่ำไว้ สตรีที่มีข้าวสารจะซัดข้าวสารตามหลังตลอดการเคลื่อนศพ
จากนั้นนำโลงศพไปวางไว้บนแคร่เอาปลายเท้าศพให้อยู่ด้านหน้า และหากมีลุกหลานบวชหน้าไฟจะให้นั่งด้านหน้า 1 รูป ด้านหลังอีก 1 รูปพร้อมหีบพระอภิธรรม ใช้เชือกผูกโยงไว้ที่ด้านหน้าแคร่หามศพ เพื่อให้ญาติพี่น้องและเพื่อนบ้านมาร่วมกันจูงศพ จะมีพระภิกษุสงฆ์เดินจูงนำขบวน จะเป็นขบวนน้ำศพส่วนพวกที่ตามหลังขบวนเรียกว่าขบวนส่งศพ
ทั้งนี้ในขบวนแห่ศพจะมีลูกชายคนสุดท้ายของตระกูลจะต้องนุ่งขาวห่มขาว และนำหวี กระจก เสื้อผ้าและแหวนผู้ตายใส่ขันทูนหัวนำไปที่วัด ซึ่งในบางแห่งให้บุตรชายคนแรกหรือคนสุดท้องอุ้มกระบุงเดินนำศพไปวัด อันเป็นสัญลักษณ์ว่าเป็นการนำกระบุงวิญญาณไปวัด โดยของภายในกระบุงจะประกอบด้วยกระจกส่องหน้า น้ำจันท์ 1 ถ้วย ถ้าคนตายเป็นชายให้ใส่ผ้านุ่ง เสื้อและผ้าขาวม้าอย่างละ 1 ผืน ถ้าคนตายเป็นหญิงให้ใส่ผ้าซิ่น เสื้อและสไบอย่างละผืน นอกจากนั้นจะมีพลู 1 จับ จอบขุดดินใช้สำหรับขุดหลุมศพและใช้ผ่ามะพร้าวล้างหน้าศพ พลูและน้ำจันทน์สำหรับเทลงในหลุมศพ กระจกไว้ให้ผู้เสียชีวิตส่องหน้าตัวเอง ข้าวของในกระบุงวิญญาณ เมื่อใช้เสร็จแล้วก็ถวานทานให้แก่วัดไป ถ้าหากภรรยาของบุตรชายคนโตกำลังตั้งครรภ์ สามีภรรยาคู่นั้นจะแตะต้องศพหรือของใช้ในพิธีศพไม่ได้
- พิธีเก็บกระดูกของชาวมอญ
วันรุ่งขึ้นหลังวันเผาจะเป็นวันเก็บกระดูก การเก็บกระดูกนั้นจะรวบรวมเถ้ากระดูกมารวมกัน แล้วนำกิ่งไม้ใบไม้สดมาวางบนกองกระดูกแล้วนำผ้าขาวมาวางทับกิ่งไม้อีกที พระสงฆ์ 4 รูปสวดบังสุกุล กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้เสียชีวิต จากนั้นนำกิ่งไม้และผ้าขาวบางออก นำโพธิ์ 7 ใบ วางข้างใบโพธิ์วางขาวสุก 1 น้ำตาล 1 และพลู 1 จนครบ 7 ชุด ผู้อาวุโสที่สุดจะเป็นคนแรกที่หยิบกระดูกจำนวน 7 ชิ้นวางบนใบโพธิ์ จากนั้นผู้อาวุโสลำดับรอง ๆ ลงมา จะได้จำนวนชิ้นกระดูกรวม 49 ชิ้น จึงเอากระดูกที่รองใบโพธิ์นั้นเทใส่ผ้าขาวบางที่คนในครอบครัวจะเป็นผู้ถือแล้วแต่จะตกลงกัน เมื่อรวบรวมกระดูกครบแล้ว นำน้ำส้มป่อยผสมขมิ้นพรมไปที่ห่อกระดูก ตามด้วยน้ำบริสุทธิ์และน้ำมะพร้าวตามลำดับ แล้วนำกระดูกบรรจุโกศหรือแบ่งไปฝังดินหรือรอยอังคารต่อไป และเมื่อถึงตรุษสงกรานต์จะนิมนต์พระมาสวดบังสุกุลให้
- พิธีปล่อยพระ
ยามเช้าตรู่ของวันครบรอบ 7 วัน จะมีการทำบุญที่วัด โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างพระพุทธรูปใหม่อุทิศให้แก่ผู้เสียชีวิต ประหนึ่งว่าได้มีพระพุทธเจ้าเกิดใหม่อีกหนึ่งองค์
สำหรับการจัดพิธีศพแบบชาวมอญในปัจจุบันนี้ กำลังเลือนหายไปตามกาลเวลา ด้วยมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านสังคมและเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น รวมไปถึงมีขั้นตอนปฏิบัติที่ยุ่งยากและค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าการจัดพิธีศพโดยทั่วไป จึงทำให้หันมาใช้โลงศพที่วางจำหน่ายตามท้องตลอดกันมากขึ้น ทั้งยังนิยมสวดพระอภิธรรมและทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้เสียชีวิตนั่นเอง
สำหรับใครที่ต้องปรึกษาหรือสอบถามเกี่ยวกับการจัดงานศพ โลงศพ โลงศพแบบไทย โลงศพแบบจีน หรือบริจาคโลงศพ ทางร้านสุริยาหีบศพ มีเจ้าหน้าที่คอยบริการตลอด 24 ชม. เลยค่ะ การตายเป็นสิ่งที่ทุกคนไม่อยากให้เกิดขึ้น ฉะนั้นจงใช้ชีวิตอย่างมีสติ จะทำอะไรให้คิดก่อนเสมอ จงทำแต่ความดีด้วยนะคะ
สนใจติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ตามช่องทางด้านล่างนี้เลยค่ะ
Tel : 02-950-0989 (ติดต่อได้ตลอด 24 ชม.)
Website : https://www.suriyafuneral.com/