พิธีกงเต๊ก
พิธีกงเต๊ก ของชาวจีนแต้จิ๋ว พิธีกงเต๊ก ของชาวจีนแต้จิ๋ว เป็นพิธีกรรมวัฒนธรรมจีนที่สืบทอดกันมายาวนาน เป็นสะพานความเชื่อที่เชื่อมโยงระหว่างชีวิตหลังความตาย เข้ากับวิถีชีวิตของคนเป็น ซึ่งไม่ใช่แต่แค่เฉพาะลูกหลาน แต่หมายรวมถึงหลากอาชีพที่เกี่ยวพันกับพิธีกรรมนี้ด้วย เรามาทำความรู้จักกับ “พิธีกงเต็ก” กันค่ะ ความหมายของคำว่ากงเต๊ก กง ซึ่งมีความหมายว่า การกระทำ เต็ก มีความหมายว่า คุณธรรม เมื่อนำมารวมกันคือ การกระทำที่มีคุณธรรม ให้ความหมายโดยรวมว่า การแสดงความกตัญญูของลูกหลานออกมาเป็นพิธีอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้วายชนม์ และการกระทำสะสมความดีของคนผู้นั้นเอง พิธีกงเต๊กนั้นจะจัดขึ้นเมื่อผู้เสียชีวิตมีอายุ 50 ปี และได้แต่งงาน มีบุตรแล้วเท่านั้น กงเต็กถือเป็นพิธีการอุทิศส่วนกุศลและส่งดวงวิญญาณให้เดินทางไปยังสวรรค์ ซึ่งจะทำกันในวันที่ 6 หลังจากการสวดอภิธรรมศพตามพิธีของชาวพุทธทั่วไป งานกงเต็กใหญ่จะเริ่มตั้งแต่ 9 โมงเช้าถึงกลางคืน ส่วนงานธรรมดาเริ่มตั้งแต่บ่าย 3 โมงถึงกลางคืน กงเต็กเป็นพิธีกรรมที่ละเอียดอ่อน ซ่อนความหมายทุกขั้นตอน อีกทั้งรายละเอียดก็แตกต่างกันไปตามประเพณีของแต่ละมณฑล พิธีของชาวจีนแต้จิ๋วจะประกอบพิธีโดยคณะบุคลากรของพุทธแสงธรรมสมาคม โดยเราจะขอลำดับพิธีกรรมหลักๆ เพื่อให้เข้าใจความหมายโดยรวมดังนี้ สวดอัญเชิญพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์มาเป็นองค์ประธาน ณ พุทธสภา ที่แทนด้วยฉากผ้าปักสีแดง ส่งสารไปยมโลกด้วยม้าและนก (กระดาษ) เพื่อแจ้งข่าวการเสียชีวิตไปยังสวรรค์และปรโลก เป็นการบอกกล่าวขอเปิดทางให้ดวงวิญญาณได้เดินทางโดยสะดวก เชิญวิญญาณมาสถิตที่โคมไฟวิญญาณ […]